ประยุกต์ศิลป์

Google   youtube   PSV   สพม.11

 

 ประยุกต์ศิลป์

ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางกายมุ่งเน้นประโยชน์ทางการใช้สอยมากกว่าความงาม หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางร่างกาย แบ่งออกเป็น  5 แขนง คือ

1.พาณิชย์ศิลป์ (ศิลปะเพื่อประโยชน์ทางการค้า)

2.มัณฑนศิลป์ (ศิลปะการตกแต่ง)

3.อุตสาหกรรมศิลป์ (ศิลปะออกแบบผลิตภัณฑ์)

4.หัตถศิลป์ (ศิลปะที่ใช้ฝีมือ)

5.การออกแบบ

ประยุกตศิลป์ เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากความชื่นชมในคุณค่าของศิลปะโดยตรง เช่น ภาพหรือลดลายที่ใช้ตกแต่งอาคาร หรือเครื่องเรือน รูปทรง สีสัน ของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ออกแบบให้เป็นที่พอใจของผู้บริโภค หรือเครื่องใช้ไม่สอยที่ทำขึ้นด้วยฝีมือประณีต ศิลปะที่ประยุกต์เข้าไปในสิ่งที่ใช้ประโยชน์เหล่านี้ จะให้ความพอใจอันเกิดจากความประณีตสวยงาม ความกลมกลืน แก่ประสาทสัมผัสควบคู่ไปกับประโยชน์ใช้สอย

งานประยุกต์ศิลป์

ส่วนใหญ่คืองานศิลปะที่สนองประโยชน์ใช้สอย ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะงานประณีตศิลป์ และ หัตถกรรม  เท่านั้น เพราะทั้งสองประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นส่งของเครื่องใช้ นับตั้งแต่สิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันขึ้นไปจนถึงสิ่งฟุ่มเฟือยซึ่งสนองตอบในทางตกแต่งประดับประดามากกว่าจะมีความจำเป็นจริงๆ ในเรื่องนี้ถ้าเราหันกลับไปดูในยุคโบราณก็จะเห็นได้ว่ามนุษย์ดึกดำบรรพ์มีทั้งเครื่องมือหิน หนังสัตว์ และเครื่องประดับประดาที่เป็นลูกปัดร้อยเป็นพวงแขวนคอ ดังนั้น เครื่องประดับอาจใช้แทนเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ก็ได้

ใส่ความเห็น